ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่มักจะนอนกรนบ่อยๆ ทั้งแบบที่มีอาการกรนเพียงเล็กน้อย หรือนอนกรนเสียงดัง ผู้ใหญ่บางคนอาจมองว่านั่นเป็นอาการที่น่ารัก แต่รู้ไหมว่า มันคือสัญญาณที่อันตรายต่อชีวิตที่คุณอาจคาดไม่ถึง!!
แม้ว่าส่วนใหญ่อาการนอนกรน มักจะพบเจอในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเพศชาย แต่ก็ยังมีอีกกลุ่มที่หลายคนอาจมองเลยข้ามไป เพราะคิดว่าไม่น่าจะส่งผลอันตรายรุนแรง นั่นคือ เด็กนอนกรน หรือการที่ลูกมีอาการนอนกรน ไม่ว่าจะเป็นอาการลูกนอนกรนหายใจแรง หรือลูกนอนกรนกัดฟัน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นอาการที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ไม่แพ้อาการนอนกรนของวัยผู้ใหญ่เลย
ถึงแม้ว่าเด็กที่มีอาการนอนกรนส่วนใหญ่ จะเป็นการนอนกรนแบบธรรมดา แต่ไม่ควรประมาทหรือนิ่งนอนใจ เพราะเด็กนอนกรนบางคนอาจมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วยได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น จะส่งผลต่อพัฒนาการ และการเจริญเติบโตทั้งทางกายภาพและสมองของเด็ก

การนอนกรนมี 2 แบบ
1.อาการนอนกรนธรรมดา
อาการนอนกรนธรรมดา คือ อาการนอนกรนที่ไม่ส่งอันตรายจนน่าเป็นห่วง โดยเด็กนอนกรนอาจมากกว่า 2 ครั้ง / สัปดาห์ แต่ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
2.อาการนอนกรนอันตราย
อาการนอนกรนอันตราย คือ การที่ลูกหยุดหายใจขณะหลับสลับการกรนเป็นระยะ และเกิดขึ้นหลายครั้งตลอดคืน เมื่อการหายใจติดขัด ทำให้มีภาวะหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนอน และมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ รวมไปถึงพฤติกรรมของเด็ก
สาเหตุของเด็กนอนกรนคืออะไร?
อาการนอนกรนในเด็ก เกิดจากอากาศไม่สามารถผ่านไปยังทางเดินหายใจได้อย่างสะดวก เมื่อหายใจเข้า-ออก ทำให้ลมปะทะกับเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ทางเดินหายใจ ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน จนมีเสียงดังเป็น “เสียงกรน” นั่นเอง
เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร?
การนอนกรนในเด็ก ส่วนใหญ่จะแตกต่างกับผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าเด็กบางคนอาจไม่ได้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็อาจมีไขมันในลำคอมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้ และสาเหตุการกรนที่พบในเด็กส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กช่วงอายุตั้งแต่ 2-6 ขวบ จะเกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่มีขนาดโตผิดปกติ จนกีดขวางทางเดินหายใจ ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากอาการภูมิแพ้ โรคทางสมองหรือกล้ามเนื้อที่มีผลต่อระบบการหายใจ หรือทางพันธุกรรม ที่พ่อแม่ของเด็กนอนกรนอยู่แล้ว ส่งผลให้เด็กนอนกรนด้วย

ลูกนอนกรนอันตรายไหม?
เมื่อเด็กมีอาการนอนกรน ร่วมกับภาวะการหยุดหายใจ หรือ OSA (Obstructive Sleep Apnea) ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนไปในเลือดต่ำลง และทำให้มีออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการไปเลี้ยงสมอง อีกทั้งการหายใจไม่สะดวก เพราะช่องทางเดินหายใจโดนอุดกั้น เมื่อเด็กหายใจไม่สะดวก จะนอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกง่าย หรือสะดุ้งตื่นบ่อย ทำให้การนอนหลับได้ไม่ดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอาการนอนกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอตั้งแต่ยังเล็ก ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและระบบเลือด
หากพบภาวะ OSA ในเด็ก มักมีผลกระทบตามมา เช่น มักมีอาการง่วงช่วงตอนกลางวัน เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ซุกซนและไม่อยู่นิ่ง (Hyperactive) บางคนอาจมีการปัสสาวะรดที่นอน ความจำไม่ดี มีผลการเรียนแย่ลง ซึมเศร้า มีปัญหาสังคมสำหรับเด็ก และส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กเติบโตช้ากว่าวัย
ดังนั้นเมื่อพบว่าลูกนอนกรน อย่านิ่งนอนใจ แต่ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กนอนกรน เพื่อทำการรักษาได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันอันตรายหรือการสูญเสียจากภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด
เด็กกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะ OSA
หากมีบุตรหลานที่มักจะนอนกรน และมีลักษณะอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรคอยสังเกตและพาไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และรักษาได้อย่างทันท่วงที
- เด็กมีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน มีภาวะอ้วน
- มีต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โตผิดปกติ
- เด็กมีโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้
- เด็กมีความผิดปกติทางสรีระร่างกาย เช่น กรามเล็ก คางเล็ก ฯลฯ
- มีความผิดปกติทางสมอง
- อากาศปนเปื้อน เช่น อยู่ในสังคมที่คนรอบข้างสูบบุหรี่ (ส่งผลต่อระบบการหายใจของเด็ก) อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ (ควันรถ บ่อขยะ น้ำเสีย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ)

วิธีแก้ลูกนอนกรนและแนวทางการรักษา
- หากเป็นกรณีอาการนอนกรนธรรมดา ควรดูแลเบื้องต้นลดอาการนอนกรนในเด็ก ด้วยการปรับพฤติกรรมทางสุขอนามัย เช่น ให้เด็กใช้เวลานอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดน้ำหนักเด็กที่มีภาวะอ้วนด้วยการควบคุมอาหารและให้เด็กออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดูแลและรักษาความสะอาดของห้องนอน ควรหมั่นทำความสะอาดเครื่องนอนและอุปกรณ์ต่างๆในห้องนอนสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดไรฝุ่นและเชื้อโรคต่างๆ ที่สะสมมาจากคราบเหงื่อไคลบนที่นอน สิ่งสกปรกต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองจมูก อันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
- พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาเด็กนอนกรน เพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างถูกต้อง
- การรักษาด้วยยา เช่น การใช้ยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก ฯลฯ ซึ่งควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัย เพื่อสั่งยาให้เหมาะสมกับอาการกรนของเด็กแต่ละราย
- ผ่าตัดแก้นอนกรน โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่เด็กมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง และเมื่อต้องทำการผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ (Adenotonsillectomy) ออก
- การรักษาด้วยยาเช่น การให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาต่อมทอนซิล ซึ่งเลือกใช้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับเด็กนอนกรนในแต่ละราย
- พบแพทย์ ขั้นตอนแรกที่รักษาอาการเด็กกรนคือ การปรึกษาคุณหมอ เพราะคุณหมอจะถามถึงปัญหานอนกรน และมองหาสัญญาณที่รุนแรงของภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับหรือปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคหืด โรคภูมิแพ้
- ผ่าตัดแก้นอนกรน การผ่าตัดเพื่อเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ออก (หรือที่เรียกว่า Adenotonsillectomy) คือ หนึ่งในการรักษาหลักสำหรับเด็กที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับ ซึ่งจะแนะนำในเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง แต่นี่อาจจะเป็นทางเลือกสำหรับการรักษานอนกรนบางกรณี
- การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือ เครื่องช่วยหายใจที่มีการเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก เพื่อให้บริเวณลำคอและโคนลิ้นมีการขยายตัวตลอดเวลา ไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถรับอากาศได้ปกติ ลดเสี่ยงภาวะ OSA และหลับได้อย่างราบรื่นตลอดคืน บางคนอาจเรียกเครื่องนี้ว่า เครื่องช่วยนอนกรน และวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือผ่าตัดแล้วแต่ยังไม่หาย เพราะปกติแล้ว การรักษาด้วย CPAP เป็นวิธีรักษาอาการนอนกรนของผู้ใหญ่ ส่วนกรณีการกรนในเด็กมักจะใช้วิธีผ่าตัดทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ออก
หากพบว่าบุตรหลานมีอาการนอนกรน ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารกนอนกรน เด็กเล็กนอนกรน หรือมีการนอนกรนในเด็กโตแล้วก็ตาม อย่าได้ชะล่าใจและมองข้าม เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน ถึงอันตรายต่อสุขภาพเด็ก และอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต อ่านบทความนี้จบแล้ว อย่าลืมสังเกตการนอนของบุตหลานคุณ ก่อนที่มันจะสายเกินไป!!